Listening skills
Listening Skill
Listening is one of the most challenging skills for our students to develop and yet also one of the most important. By developing their ability to listen well we develop our students' ability to become more independent learners, as by hearing accurately they are much more likely to be able to reproduce accurately, refine their understanding of grammar and develop their own vocabulary.
In this article I intend to outline a framework that can be used to design a listening lesson that will develop your students' listening skills and look at some of the issues involved.
The basic framework
The basic framework on which you can construct a listening lesson can be divided into three main stages.
- Pre-listening, during which we help our students prepare to listen.
- While listening, during which we help to focus their attention on the listening text and guide the development of their understanding of it.
- Post-listening, during which we help our students integrate what they have learnt from the text into their existing knowledge.
Pre-listening
- Post-listening, during which we help our students integrate what they have learnt from the text into their existing knowledge.
Pre-listening
There are certain goals that should be achieved before students attempt to listen to any text. These are motivation, contextualisation, and preparation.
- Motivation: It is enormously important that before listening students are motivated to listen, so you should try to select a text that they will find interesting and then design tasks that will arouse your students' interest and curiosity.
- Contextualisation: When we listen in our everyday lives we hear language within its natural environment, and that environment gives us a huge amount of information about the linguistic content we are likely to hear. Listening to a tape recording in a classroom is a very unnatural process. The text has been taken from its original environment and we need to design tasks that will help students to contextualise the listening and access their existing knowledge and expectations to help them understand the text.
- Preparation: To do the task we set students while they listen there could be specific vocabulary or expressions that students will need. It's vital that we cover this before they start to listen as we want the challenge within the lesson to be an act of listening not of understanding what they have to do.
While listening
While listening
When we listen to something in our everyday lives we do so for a reason. Students too need a reason to listen that will focus their attention. For our students to really develop their listening skills they will need to listen a number of times - three or four usually works quite well - as I've found that the first time many students listen to a text they are nervous and have to tune in to accents and the speed at which the people are speaking.
Ideally the listening tasks we design for them should guide them through the text and should be graded so that the first listening task they do is quite easy and helps them to get a general understanding of the text. Sometimes a single question at this stage will be enough, not putting the students under too much pressure.
The second task for the second time students listen should demand a greater and more detailed understanding of the text. Make sure though that the task doesn't demand too much of a response. Writing long responses as they listen can be very demanding and is a separate skill in itself, so keep the tasks to single words, ticking or some sort of graphical response.
The third listening task could just be a matter of checking their own answers from the second task or could lead students towards some more subtle interpretations of the text.
Listening to a foreign language is a very intensive and demanding activity and for this reason I think it's very important that students should have 'breathing' or 'thinking' space between listenings. I usually get my students to compare their answers between listenings as this gives them the chance not only to have a break from the listening, but also to check their understanding with a peer and so reconsider before listening again.
Post-listening
There are two common forms that post-listening tasks can take. These are reactions to the content of the text, and analysis of the linguistic features used to express the content.
- Reaction to the text: Of these two I find that tasks that focus students reaction to the content are most important. Again this is something that we naturally do in our everyday lives. Because we listen for a reason, there is generally a following reaction. This could be discussion as a response to what we've heard - do they agree or disagree or even believe what they have heard? - or it could be some kind of reuse of the information they have heard.
- Analysis of language: The second of these two post-listening task types involves focusing students on linguistic features of the text. This is important in terms of developing their knowledge of language, but less so in terms of developing students' listening skills. It could take the form of an analysis of verb forms from a script of the listening text or vocabulary or collocation work. This is a good time to do form focused work as the students have already developed an understanding of the text and so will find dealing with the forms that express those meanings much easier.
The third listening task could just be a matter of checking their own answers from the second task or could lead students towards some more subtle interpretations of the text.
Listening to a foreign language is a very intensive and demanding activity and for this reason I think it's very important that students should have 'breathing' or 'thinking' space between listenings. I usually get my students to compare their answers between listenings as this gives them the chance not only to have a break from the listening, but also to check their understanding with a peer and so reconsider before listening again.
Post-listening
There are two common forms that post-listening tasks can take. These are reactions to the content of the text, and analysis of the linguistic features used to express the content.
- Reaction to the text: Of these two I find that tasks that focus students reaction to the content are most important. Again this is something that we naturally do in our everyday lives. Because we listen for a reason, there is generally a following reaction. This could be discussion as a response to what we've heard - do they agree or disagree or even believe what they have heard? - or it could be some kind of reuse of the information they have heard.
- Analysis of language: The second of these two post-listening task types involves focusing students on linguistic features of the text. This is important in terms of developing their knowledge of language, but less so in terms of developing students' listening skills. It could take the form of an analysis of verb forms from a script of the listening text or vocabulary or collocation work. This is a good time to do form focused work as the students have already developed an understanding of the text and so will find dealing with the forms that express those meanings much easier.
Thanks for : http://www.teachingenglish.org.uk/articles/a-framework-planning-a-listening-skills-lesson
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับชาวต่างชาติ เป็นสิ่งจำเป็นในการประกอบอาชีพ ประกอบกับในยุคนี้เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีที่ต้องใช้ทักษะทางภาษาอังกฤษ ดังที่ ยุดา รักไทย (2552 : 26) ได้กล่าวว่า “บทบาทและความสำคัญของภาษาอังกฤษ เป็นแรงผลักให้ผู้เรียน ต้องเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ เพื่อติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ด้านความรู้ ความคิดและเทคโนโลยีต่างๆ กับชาวต่างชาติ” ซึ่งความจำเป็นในการใช้ภาษาดังกล่าวสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2544 : 1) ได้กำหนดไว้ในเอกสารสาระและมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในเรื่องวิสัยทัศน์การเรียนรู้ว่า “การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคาดหวังว่า เมื่อผู้เรียนเรียนภาษาอังกฤษ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา ผู้เรียนจะมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แสวงหาความรู้ ประกอบอาชีพและสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์”
ในธรรมชาติของเด็กนั้นเด็กมีสัญชาตญาณแห่งการสื่อสารและการพูดอยู่แล้วจึงน่าจะเป็นประโยชน์ในการที่จะจูงใจให้นักเรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือครูจะต้องไม่ลืมว่า การเรียนภาษาอังกฤษเป็นการเรียนเพื่อการใช้ภาษา ไม่ได้เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษา ดังนั้นครูจึงไม่ควรที่จะปิดกั้น หรือห้ามปรามเมื่อเด็กพูดจนมากเกินไป ครูควรปล่อยให้เด็กได้มีโอกาสพูดแสดงความคิดเห็นบ้าง หรือให้นักเรียนได้มีโอกาสให้นักเรียนได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียนให้มากขึ้น หรือครูควรจัดให้มีกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษอย่างสม่ำเสมอ
ทักษะการฟังคืออะไร?...
การสื่อสารในชีวิตประจำวันนั้นการฟังนับว่าเป็นทักษะรับสารที่สำคัญทักษะหนึ่ง เป็นทักษะที่ใช้กันมากและเป็นทักษะแรกที่ต้องทำการสอนเพราะผู้พูดจะต้องฟังให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสามารถพูดโต้ตอบ อ่านหรือเขียนได้ ทักษะการฟังจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ ดังนั้นในการเรียนการสอนนักเรียนจึงควรได้รับการฝึกฝนทักษะการฟังอย่างเพียงพอและจริงจัง
นพเก้า ณ พัทลุง(2548:22) ได้ให้ ความหมายของทักษะการฟัง หมายถึงความสามารถในการจับประเด็นใจความหลักจากสิ่งที่ฟังได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนซึ่งเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน เพราะผู้เรียนต้องเข้าใจสาระสำคัญจากสิ่งที่พูดอารมณ์และความคิดเห็นของผู้พูดและสามารถตอบสนองระบุความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดหรือบริบทของการพูดได้ คุณค่าของการฟังคืออะไร
David Pual (2004 : 71) ได้กล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่เด็กๆจะต้องฟังภาษาอังกฤษที่เหมาะกับระดับของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภาษาควรจะง่ายสำหรับเด็กและอยู่ในระดับปัจจุบันหรือเหนือระดับที่เข้าใจได้แล้วเล็กน้อย ถ้าระดับยากเกินไปเด็กอาจสูญเสียความมั่นใจและทัศนคติด้านบวกไปก็ได้ หากเด็กได้เรียนภาษาอังกฤษหลายครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยได้มากถ้าให้ทำแบบฝึกหัดการฟังอย่างสม่ำเสมอจากเทป หรือครูผู้ให้ข้อมูลแบบฝึกหัดควรจัดระยะให้ห่างเท่าๆกันในบทต่างๆแทนที่จะทำพร้อมกันในชั่วโมงเรียนถ้าหากเรียนหนึ่งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์เราไม่ควรคาดหวังว่าความสามารถในการฟังของเด็กจะดีขึ้นมากจากการทำแบบฝึกหัดการฟังในชั้นเรียนที่สำคัญมากก็คือให้ทำแบบฝึกหัดการฟัง อย่างสม่ำเสมอในช่วงที่ไม่ได้เรียนเราอาจสนับสนุนให้เด็กและผู้ปกครองฟังเทปในรถที่บ้านหรือสนับสนุนให้เด็กดูวีดีทัศน์หรือใช้โปรแกรมภาษาอังกฤษ สิ่งที่อาจทำได้นั้นสิ่งหนึ่งขึ้นอยู่กับสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวเด็กและเวลาที่เด็กทุ่มเทให้ภาษาอังกฤษ แต่อย่างน้อยเราสามารถเน้นกับเด็กและผู้ปกครองว่าเด็กจะได้ประโยชน์อย่างสูงจากการได้ฟังภาษาอังกฤษมากๆ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าควรหลีกเลี่ยงการใช้เทปในชั้น เพียงแต่เราไม่ควรคาดหวังว่าการฟังเทปหนึ่งหรือสองครั้งต่อสัปดาห์จะทำให้ความสามารถในการฟังของเด็กดีขึ้นมากนัก เทปยังมีประโยชน์มากในการทำให้ได้ยินเสียงของตัวละคร เสียงของเจ้าของภาษา ที่ช่วยสร้างความหลากหลายในวิธีที่เด็กจะได้พบเป้าหมายทางภาษาให้แบบอย่างในการออกเสียงและช่วยแนะนำฝึกร้องเพลงอีกด้วย
อะไรคือหลักการเบื้องหลังของการสอนทักษะการฟัง ?...
เสาวภา ฉายะบุระกุล (2546:136) ได้กล่าวถึงหลักการเบื้องหลังของการสอนทักษะการฟัง
ดังนี้คือ
1.เครื่องบันทึกเทปมีความสำคัญเท่าๆกับตัวเทปเอง ไม่ว่าเทปจะดีเพียงใดจะหมดความหมายทันทีหากลำโพงเรื่องบันทึกเทปมีคุณภาพต่ำกิจกรรมอะไรที่ช่วยส่งเสริมการสอนทักษะการฟัง
2. การเตรียมตัวเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งครูและนักเรียนจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการฟัง ครูต้องฟังเทปตั้งแต่ต้นจนจบก่อนจะเอาเข้าไปเปิดในชั้นเรียน ซึ่งวิธีนี้ครูจะสามารถเตรียมตัวและตัดสินใจได้ว่า นักเรียนจะฟังเทปและทำงานประกอบการฟังได้หรือไม่
3. ฟังครั้งเดียวไม่พอ ครูควรจะเปิดเทปให้นักเรียนฟังอย่างน้อย 2 รอบ เพื่อที่จะให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาลักษณะทางภาษาบางอย่างที่อยู่ในเทป
4.ควรกระตุ้นให้นักเรียนตอบสนองต่อเนื้อหาของสิ่งที่ฟังด้วยไม่ใช่เฉพาะแต่เพียงภาษาเท่านั้น เช่นเดียวกับการอ่าน สิ่งที่สำคัญที่สุดในการฝึกฝนทักษะการฟังคือการพยายามจับความหมาย เจตนารมณ์ของผู้พูด
5.งานประกอบการฟังจะต้องแตกต่างกันไปตามลำดับขั้นตอนการฟังที่แตกต่างกัน เพราะเหตุผลที่ว่าเราอยากจะทำอะไรหลายๆอย่างกับเรื่องที่ให้นักเรียนฟังเราจึงจำเป็นต้องกำหนดงานให้แตกต่างกันตามลำดับขั้นตอนการฟังที่แตกต่างกันซึ่งหมายความว่าในการฟังรอบแรกงานที่ให้ทำจะต้องเป็นคำถามที่ค่อนข้างตรงไปตรงมากระตุ้นการใช้ภาษา หากทำเช่นนี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถคลายความเครียดจากการฟังได้ อย่างไรก็ตามในการฟังรอบหลังๆ อาจเน้นที่รายละเอียดของข้อมูล การใช้ภาษา หรือการการเสียงได้ดียิ่งขึ้น
6.ครูที่ดีต้องใช้ประโยชน์จากเรื่องที่ให้นักเรียนฟังให้เต็มที่หากครูให้นักเรียนลงทุนทั้งเวลาและพลังทางอารมณ์ในการทำกิจกรรมการฟังครูก็ควรจะใช้เทปนั้นเพื่องานหลายประเภทให้มากที่สุด ดังนั้นหลังจากการเล่นเทปครั้งแรก ครูอาจเล่นเทปอีกครั้งก็ได้เพื่อการศึกษาแบบต่างๆก่อนที่จะใช้เนื้อเรื่อง สถานการณ์หรือถอดเทป สำหรับกิจกรรมใหม่ ดังนั้นการฟังจึงเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญตอนหนึ่ง ในขั้นตอนการสอน มิใช่เป็นแค่เพียงแบบฝึกหัดเท่านั้น
ปราณี ธนะชานันท์ (2547:73) ได้เสนอแนะกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการฟังไว้ดังนี้
1. การเขียนตามคำบอก มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในการพัฒนาการรับรู้เสียงของภาษาและตรงกันข้ามกับความเห็นส่วนใหญ่เรื่องการเขียนตามคำบอก การทำเช่นนี้อาจเป็นกิจกรรม
ที่สนุกสนานได้ ครูอาจออกเสียงให้เด็กเขียนในรูปภาพ ตาราง บิงโกและแผนที่มหาสมบัติเด็กเลือกช่อง
ที่จะเขียนเสียงลงไป และได้แต้มถ้าเลือกช่องบางช่องเด็กๆอาจมีใบงานที่มีเสียงและคำอยู่แล้วและทำกิจกรรม เช่น ฟังเสียงหรือคำบอกเลือกคำตอบที่ถูกบนใบงาน แล้วโยงเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นภาพหรือเดินทางไปตามเขาวงกต หรืออาจทำกิจกรรมในคลังเกม เช่น Bingo (บิงโก) Chopstick Spelling(การสะกดคำด้วยตะเกียบ)Treasure Hunt Challenge (การค้นหาขุมทรัพย์)
2. การเล่าเรื่อง ถ้าเด็กเรียนมากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์การเล่าเรื่องถือเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมการฟัง โดยเฉพาะหากสามารถรวมภาษาในเรื่องให้กลมกลืนไปกับเนื้อหาที่เรียน เมื่อใช้เรื่องสำหรับฝึกการฟังครูอาจจำเรื่องมาเล่าให้เด็กฟัง อ่านให้ฟัง หรือเปิดเทปให้ฟัง หากเป็นเรื่องที่ครูจำมาก็เป็นการง่ายมากที่จะพูดโต้ตอบกับเด็ก แต่ครูก็อาจพูดจาโต้ตอบได้บ้างเหมือนกันถ้าครูอ่านเรื่อง ข้อเสียของกิจกรรมประเภทนี้คือ ไม่ว่าครูจะพยายามให้เรื่องเป็นจุดรวมของกิจกรรมมากเพียงใด แต่ก็มักจะลงเอยด้วยการที่ครูเป็นศูนย์กลางแต่ถ้าหากครูคอยระวังดึงเด็กเข้ามาร่วมด้วยให้มากที่สุดก็จะสามารถเพิ่มพูนประสบการณ์ของเด็กๆกับภาษา อังกฤษอีกวิธีหนึ่งคือการใช้หุ่นหรือตุ๊กตาแทนตัวละครโดยพยายามให้หุ่นออกท่าทางตามเรื่องราวที่ครูอ่านหรือเล่าอย่างไรก็ตามการให้เด็กฟังเรื่องจากเทปหรือซีดี มีข้อดีที่สำคัญบางประการเด็กสามารถได้ยินเสียงคนต่างๆมากมาย มีการบันทึกไว้ให้ฟังซ้ำระหว่างที่ไม่ได้เรียนและสามารถกลับไปฟังเรื่องเดิมแบบเดิมได้ง่ายเด็กๆก็จะสามารถฟังเรื่องอีกที่บ้านได้
ตัวอย่างกิจกรรมที่ครูทำได้กับการเล่าเรื่อง
- ให้เด็กวาดภาพตัวละครหรือฉากในเรื่อง
- ครูเล่าเรื่องโดยใช้หุ่นเป็นตัวละครพูดโต้ ตอบกันให้เด็กเล่าเรื่องอีกครั้งด้วยหุ่นของตนเอง
- ครูมีรูปของบางฉากในเรื่องให้เด็กวางรูปในลำดับที่ถูกต้องแตะหรือกระโดด
ไปบนรูปขณะที่ครูเล่าเรื่อง และก่อนเล่าเรื่องอาจให้เด็กวางรูปในลำดับที่คิดว่าน่าจะเป็นตามเนื้อเรื่อง
- เด็กแต่ละคนมีบัตรคำ หากมีการเอ่ยถึง คำใดคำหนึ่งจากบัตรเหล่านั้นในเรื่อง
เจ้าของบัตรจะต้องทำอะไรบางอย่างเช่น ทำเสียงตาม คำศัพท์ หรือยกมือ ชูบัตรขึ้นเป็นต้น
- ถ้าหากเด็กรู้เรื่องนั้นแล้วในภาษาไทย ครูอาจถามเด็กว่ามีคำภาษาอังกฤษคำไหนที่จะปรากฏในเรื่อง หรือคาดเดาความหมาย
- ครูสามารถหยุดเล่าเป็นครั้งคราวและ ถามเด็กว่าคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
3. การสอนแบบตอบสนองด้วยการกระทำเท่านั้น (Total Physical Response/TRP) เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้กันบ่อย ตัวอย่างของ TRP คือครั้งแรกครูให้คำสั่งเป็นภาษาอังกฤษแล้วออก
ท่าทางตามไปด้วย แล้วครูก็ให้คำสั่งเดิมโดยไม่มีท่าทางประกอบ เด็กๆแสดงความเข้าใจด้วยการทำตามคำสั่งโดยไม่ต้องพูด แต่ก็สามารถดัดแปลงโดยให้เด็กพูดด้วยก็ได้ เช่น ให้เด็กพูดว่ากำลังทำอะไรอยู่ ถ้าครูพูดว่า Please stand up. เด็กอาจยืนขึ้นและพูดพร้อมกันว่า We are standing up.
- สรุป การสอนทักษะการฟังเป็นทักษะแรกที่มีความสำคัญสำหรับภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารครูคือควบคุมดูแลกิจกรรมทุกอย่างให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ การจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กตื่นตัวสนใจในการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติมีความสุขในการเรียนรู้ภาษาเป็นสิ่งสำคัญ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการไตร่ตรองเป็นส่วนสำคัญของความเป็นครูความสามารถของเด็กในการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถของครูในการสอนจะไม่พัฒนาเต็มตามศักยภาพ หากครูไม่มีโอกาสที่จะถอยไปข้างหลังและไตร่ตรอง บางทีการมองการสอนของเราว่าเป็นการ ทดลองอย่างหนึ่งที่ต้องคอยตรวจสอบประเมิน ทบทวน และปรับปรุงก็ช่วยในการพัฒนาการสอนของเราได้อย่างมากทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น